ในขั้นตอนการออกแบบและวางระบบเครือข่ายต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อน ปัจจัยหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวของกับการทำระบบเครือข่ายคือ อุปกรณ์เครือข่าย ที่จุดขายของอุปกรณ์คือความสามารถในการจัดการและรองรับ มาตรฐานทางเครือข่าย ต่าง ๆ ซึ่งแปรผันตามราคาของอุปกรณ์นั้นเองด้วย อุปกรณ์เครือข่ายที่ตกรุ่นหลายชิ้น ก็มักจบลงที่การเป็นขยะอิเล็กทรอนิก หรือเป็นวัตถุโบราณในครัวเรือน
ในบทความนี้ เกิดจากที่ตัวผมเองต้องการวางระบบเครือข่ายใหม่ โดยมีการแบ่ง VLAN ให้กับอุปกรณ์ทั่วไปและ อุปกรณ์ IoT แต่ติดปัญหาที่ Wireless Router (ASUS RT-ARCH13) ที่มีอยู่นั้นไม่รองรับการทำ VLAN Tagging ผมจึงมองหาวิธีจัดการทำให้อุปกรณ์นี้ใช้งานได้โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนตัวอุปกรณ์

คำเตือน: การ Flash Firmware ที่ไม่ใช่ของบริษัทผู้ผลิต ทำให้อุปกรณ์หมดประกันทันที และมีความเสี่ยงที่อุปกรณ์เสียหายได้ (Brick) ควรศึกษารายละเอียดและขั้นตอนการติดตั้งอย่างละเอียด และ ศึกษาขั้นตอนการกู้คืน (Recovery) ทางผู้เขียนไม่รับผิดชอบในทุกกรณี (AT YOUR OWN RISK)
เนื้อหาที่จะพูดถึงในบทความนี้
- OpenWrt คืออะไร
- วิธีการตรวจสอบอุปกรณ์ที่ OpenWrt รองรับ
- การติดตั้ง (Flash) OpenWrt ลงบน Router ASUS รุ่น RT-ARCH13 (RT-AC58U)
OpenWrt คืออะไร
OpenWrt เป็นระบบปฏิบัติการเปิดที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย และอุปกรณ์เน็ตเวิร์ค โดยเฉพาะ โดยมักนิยมใช้กับอุปกรณ์เราเตอร์ (Router) และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น การ์ดเครือข่ายไร้สาย (Wireless Network Cards) และอุปกรณ์ควบคุมเครือข่าย (Network Switches) เป็นต้น
OpenWrt ถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ Linux เพื่อให้สามารถปรับแต่งอุปกรณ์เครือข่ายได้อย่างยืดหยุ่น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขการตั้งค่าและเขียนโปรแกรมเสริมเพื่อเพิ่มฟีเจอร์หรือปรับปรุงการทำงานของอุปกรณ์เครือข่ายได้ตามต้องการ
วิธีการตรวจสอบอุปกรณ์ที่รองรับ OpenWrt
สามารถตรวจสอบได้ที่ตารางอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่รองรับ [OpenWrt Wiki] Table of Hardware: Standard, all devices สามารถค้นหาจากช่อง search บนหัวตารางได้เลย (สะดวกมาก) ซึ่งแนะนำว่าควรเปิดเข้าไปดูหน้า Device Page ก่อน


โดยที่ในหน้า Device Page จะมีการระบุรายละเอียดต่าง ๆ ที่จำเป็น และวิธีขั้นตอนการ ติดตั้ง

การติดตั้ง (Flash) OpenWrt ลงบน Router ASUS รุ่น RT-ARCH13 (RT-AC58U)
ก่อนเริ่มทำการ flash ควรศึกษาวิธีการ recovery อุปกรณ์ก่อนสำหรับกรณีฉุกเฉิน และ Backup Firmware หากอุปกรณ์รองรับการทำ Backup
ASUS Router เองมี Tools สำหรับการ Recovery Stock Firmware อยู่ครับ ชื่อว่า Firmware Restoration Tools
เปิด SSH ที่ Router ไปที่ Administration > Service > Enable SSH > LAN only

จากนั้นก็ SSH เข้าไปที่ Routerใช้ user/password เดียวกับที่ใช้ Login เข้า router
(host)$ ssh <user>@<router-ip>
Copy ubi0_1, ubi0_2 ไปที่ /tmp
(router)$ cp /dev/ubi0_1 /tmp
(router)$ cp /dev/ubi0_2 /tmp
SCP มาเก็บไว้ในเครื่อง
(host)$ scp <user>@<router-ip>:/tmp/ubi0_1 <destination>
(host)$ scp <user>@<router-ip>:/tmp/ubi0_2 <destination>
ผมเลือกที่จะติดตั้ง OpenWrt ด้วยขั้นตอน Easy Installation โดยการที่ทำการนำไฟล์ Firmware เข้าไปอัพเกรดที่หน้าอัพเกรด Firmware ของ ASUS เลยครับ
Download firmware สำหรับติดตั้งผ่านหน้า Firmware Upgrade ของ Router Zyxmon’s AC58U builds page เลือกที่เป็นไฟล์ .trx

ไปที่หน้า Firmware Upgrade ของ Asus Router http://<router-ip>/Advanced_FirmwareUpgrade_Content.asp
ที่ New Firmware File กด Browse แล้วเลือกไฟล์ .trx
ที่โหลดมาจากขั้นตอนก่อนหน้า แล้วกด Upload

หลังจากนี้ก็รอให้กระบวนการ Upgrade Firmware สำเร็จ (รอจนกว่า router จะ reboot ตัวเองเป็น openwrt)
SSH เข้าไปที่ router แล้วทำการลบ jffs2 partition
$ ssh [email protected]
$ ubirmvol /dev/ubi0 -N jffs2
เมื่อเข้าสู่ LuCI (web interface ของ OpenWrt) ค่าเริ่มต้นจะเป็น Username: root
โดยไม่มี Password

Download firmware upgrade ล่าสุดจากหน้า device page

ไปที่หน้า http://192.168.22.254/cgi-bin/luci/admin/system/flash
แล้วเลือก firmware-upgrade ที่ download มาจากขั้นตอนก่อนหน้า

จากนั้นเราจะได้ OpenWrt ที่เป็นเวอร์ชันล่าสุดมาใช้งานแล้วครับ
สุดท้ายนี้อย่าลืมเข้าไปตั้งค่า Password ด้วยนะครับเพื่อความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน
Leave a Reply